เพลงกล่อมเด็กมีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลแล้ว แม่ในสมัยก่อนนิยมร้องเพลงให้ลูกได้หลับอย่างสบาย แต่เพลงกล่อมเด็กเริ่มจะสูญหาย กำลังหายากเหมือนดุจฝนตกหน้าแล้งจะไม่ได้ยินเสียงเห่กล่อมและภาพแม่ไกวเปลลูกอีกแล้ว บทเพลงเห่กล่อมถูกทอดทิ้งให้ละลายหายสูญไป ควรที่อนุชนรุ่นเราและ คุณแม่ ๆ ทั้งหลายจะต้องช่วยกันอนุรักษ์สืบไป เพลงกล่อมเด็กนั้น นอกจากจะทำให้เด็กเพลินและหลับไปแล้ว ยังได้สะท้อนให้เห็นชีวิต ความเป็นอยู่ ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนคติธรรม อันจะปลูกฝังลงไปใน ลูกหลานอีกด้วย ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของเพลงกล่อมเด็กของไทยก็คือ เป็นบทร้อยกรองสั้น ๆ บทหนึ่ง ๆ อาจจะมีตั้งแต่ 4 วรรค, 6 วรรค ไปจนถึง 8 วรรค หรือมากกว่านั้น มีสัมผัส คล้องจองกันไม่กำหนด ตายตัว จำนวนคำในแต่ละวรรคก็ไม่จำกัดแน่นอน อาจมี 4 - 8 คำก็ได้ ผู้เห่กล่อมก็มักจะใช้ทำนองเห่ที่ทอดเสียงช้า ๆ เย็น ๆ เพื่อให้ฟังเพลินจนหลับ เนื้อร้องในเพลงกล่อมเด็กอาจจะจำแนกออกตามลักษณะในการใช้ร้องเห่กล่อมได้ คือ พวกที่ต้องการใช้เพื่อเห่กล่อมให้เด็กเพลิน ปลอบโยนให้เด็กหลับ กับเนื้อร้องพวกที่มี ความหมายเป็นการขู่ หรือหลอกซึ่งเป็นขั้นที่สอง เพราะเด็กอาจร้องกวนไม่ยอมนอน ส่วนที่ นอกเหนือจากนี้ก็เป็นเนื้อร้องประเภทที่ผู้กล่อมอาจจะระบายความในใจ อบรมสั่งสอนเด็กทางอ้อม บางทีก็อาจจะเป็นทำนอง เยาะเย้ยเสียดสีให้คนโต ๆ อื่น ๆ ฟังก็ได้ หรืออาจจะเป็นคติธรรม ที่เป็นปริศนาใช้สอนใจคนได้ทุกระดับ และยังมีเนื้อเพลงกล่อมเด็กที่เนื้อร้องได้รับอิทธิพลจากนิทาน หรือวรรณคดีต่าง ๆ
หันไผมาขายกล้วย บ้องจิซื้อหื้อกิน แม่เจ้าไปไส่ เปิ้นจิหมกไข่มาหา แม่เจ้าไปนา เปิ้นจิหมกไข่ป๋ามาป้อน แม่เจ้ามาฮอดแล้ว จึงค่อยตื่นกิ๋นนม
อี่แอ่นแยงเงา นกเขาตากปีก นกสะหลีกสองหาง นายางหว่านกล้า ป่าหญ้าล็อบแล็บ สาวก้นแต็บ แม่ฮ้างก้นกึ่ง
เปิ้นมีผิวเปิ้นเอาไว้หย้อง ล่นไปยืมจ้อง กับแม่ก๋ำเดือน ลงเฮือนไป ลูกเปิ้นไห้ สาวขี้ไร้ นุ่งซิ่นดำเขียว นุ่งซิ่นต๋าแหล้ จ๊าดเปิงแต๊แต๊ นุ่งซิ่นยอดไหมดำ
เพลงพื้นบ้านและบทเพลงกล่อมเด็ก เพลงกล่อมเด็ก ๑. ความหมายของเพลงกล่อมเด็ก เพลงกล่อมเด็กเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นความเชื่อค่านิยมของคนในท้องถิ่นต่าง ๆ คนทุกชาติทุกภาษาในโลกมีบทเพลงกล่อมเด็กด้วยกันทั้งนั้น สันนิษฐานว่าเพลงกล่อมเด็กมีวิวัฒนาการจากการเล่านิทาน ให้เด็กฟังก่อนนอน ดังนั้น เพลงกล่อมเด็กบางเพลงจึงมีลักษณะเนื้อร้องที่เป็นเรื่องเป็นราว เช่น จันทรโครพ ไชยเชษฐ์ พระรถเสน เป็นต้น การที่ต้องมีเพลงกล่อมเด็กก็เพื่อให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน หลับง่าย เกิดความอบอุ่นใจ ๒. ลักษณะของเพลงกล่อมเด็ก ลักษณะกลอนของเพลงกล่อมเด็กจะเป็นกลอนชาวบ้าน ไม่มีแบบแผนแน่นอน เพียงแต่มีสัมผัสคล้องจองกันบ้างถ้อยคำที่ใช้ในบางครั้งอาจไม่มีความหมาย เนื้อเรื่องเกี่ยวกับ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับชีวิต ความเป็นอยู่ สะท้อนให้เห็นความรัก ความห่วงใย ของแม่ที่มีต่อลูก สั่งสอน เสียดสีสังคม เป็นต้น
เพลงกล่อมเด็ก คือ เพลงที่ร้องเพื่อกล่อมให้เด็กเล็กๆเกิดความเพลิดเพลินและอบอุ่นใจจะได้หลับง่ายและหลับสบาย 1. เป็นบทร้อยกรองสั้นๆ มีคำคล้องจองต่อเนื่องกันไป 2. มีฉันทลักษณ์ไม่แน่นอน 3. ใช้คำง่ายๆสั้นหรือยาวก็ได้ 4. มีจังหวะในการร้องและทำนองที่เรียบง่าย สนุกสนาน จดจำได้ง่าย และเป็นเพลงที่เด็กชอบมากคือเพลงชักแล้วนอนฟัน 1. ชักชวนให้เด็กนอนหลับ 2. เนื้อความแสดงถึงความรัก ความห่วงใย ความหวงแหนของแม่ที่มีต่อลูก 1. แสดงความรักความห่วงใย 2. กล่าวถึงสิ่งแวดล้อม 3. เล่าเป็นนิทานและวรรณคดี 4. เป็นการเล่าประสบการณ์ 5. ล้อเลียนและเสียดสีสังคม 6. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็ก 7. เป็นคติ คำสอน